หน้าที่คนประจำเรือสากล
HOME

บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบคนประจำเรือ

ฝ่ายเดินเรือ

 

ผู้บังคับการเรือ  / นายเรือ Captain or Master

          ทำหน้าที่เป็นตัวแทนเจ้าของเรือมีภาระผูกพันให้เรือเป็นไปตามอนุสัญญา กฎข้อบังคับต่างๆ เช่น STCW SOLAS MARPOL ISPS MLC กฎหมาย ข้อบังคับเมืองท่า และท่าเรือ รวมถึงนโยบายของบริษัทด้วย ที่เรียกว่า อำนาจสั่งการข้ามขั้นตอนปกติ (Overriding Authority) เป็นผู้นาสูงสุดในเรือ และมีอำนาจหน้าที่เต็มในการสั่งการปฏิบัติงานได้ตลอดทั้งเรือจอดและเรือเดิน เพื่อที่จะรักษาชีวิต สิ่งแวดล้อม รวมทั้งทรัพย์สินด้วย

ความรับผิดชอบมีดังนี้ :-

          1. รับผิดชอบอย่างเบ็ดเสร็จต่อคุณสมบัติของเรือที่จะออกทะเลได้ เพื่อให้การปฏิบัติงานเรือเป็นไปอย่างปลอดภัยมีประสิทธิผลและเป็นไปอย่างประหยัด ตลอดจนความปลอดภัยของผู้คนในเรือ, สินค้า และอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ

          2. เป็นผู้รับผิดชอบในการดาเนินงานเกี่ยวกับระบบการจัดการความปลอดภัยในทะเล,

ให้การกากับดูแล การฝึกอบรม อีกทั้งให้คาแนะนาที่เหมาะสม และชัดเจน เพื่อให้ทุกคนสามารถปฏิบัติตามนโยบายของบริษัทฯ ว่าด้วย ความปลอดภัยและป้องกันสิ่งแวดล้อมได้อย่างถูกต้อง

          3. พิจารณาทบทวนระเบียบปฏิบัติของเรือ ว่าด้วยการจัดการความปลอดภัยและการป้องกันมิให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม สิ่งบกพร่องใดๆ ที่ตรวจพบ ทางเรือควรจะรายงานให้ผู้รับมอบอำนาจของบริษัทฯ ได้ทราบเพื่อดาเนินการแก้ไขต่อไป

          4.นายเรือ มีหน้าที่รับผิดชอบในการแจ้งให้บริษัทฯ ทราบถึงข้อบกพร่อง(Non-Conformance)ที่พบต่อโครงสร้างของเรือ เครื่องยนต์ อุปกรณ์ และสิ่งที่ผิดปกติไปจากระบบ SMS (Non-Conformity) ที่มีผลกระทบต่อการจัดการความปลอดภัยของเรือ หรือเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม นายเรืออาจร้องขอความช่วยเหลือจากบริษัทฯ ณ ที่หรือเวลาใด ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นช่างเทคนิค หรือผู้รับเหมาอื่นจากภายนอก เพื่อแก้ไขปรับปรุงข้อบกพร่องที่พบในกรณีเร่งด่วน

          5. นายเรือจะต้องให้ความสนใจในการบริหารเรืออย่างประหยัด นายเรือจะต้องให้ความมั่นใจว่าเสบียงเรือ สโตร์ภายในเรือ อะไหล่เรือ และเครื่องมือจะไม่มีการใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายและจะไม่มีการกักตุนของใช้อื่นๆไว้บนเรือจนเกินความจาเป็น นายเรือจะต้องพยายามที่จะลดค่าใช้จ่ายให้อยู่ในระดับที่ต่ำที่สุด และจะต้องรับผิดชอบในการจัดส่งจดหมาย บันทึก ปูมและเอกสารทั้งหลายอย่างถูกต้องและทันเวลาตามที่บริษัทผู้เช่า ผู้สั่งสินค้า และเจ้าหน้าที่การท่าเรือหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางเรือร้องขอ

          6. ดูแลสวัสดิการ สวัสดิภาพ สุขาภิบาลในเรือและความปลอดภัยในการทางานให้เป็นไปตามอนุสัญญา MLC

          7.การเข้ายามบนสะพานเดินเรือของนายเรือ

นายเรือเป็นผู้ควบคุมดูแลและยามบนสะพาน คอยประสานงานและ บังคับบัญชาให้การทาหน้าที่ยามให้การเดินเรือเป็นไปด้วยความปลอดภัยนายเรือจะกำหนดให้นายประจาเรือคนใดทาหน้าที่เฝ้าดูเรดาร์ และหลีกเลี่ยงเรือโดนกัน และคนใดทาหน้าที่เดินเรือและการสื่อสาร และจะต้องเข้าประจาหน้าที่บนสะพานเดินเรือในช่วงเวลาดังต่อไปนี้ :-

                   7.1 เมื่อนายยามเรือเดินร้องขอให้ประจาอยู่ด้วย  

                   7.2 ขณะกาลังจะเดินทางเข้าจอดและออกจากเมืองท่า, ท่าเทียบเรือ หรือออกจากเทียบ และเลื่อนเรือ หรือในน่านน้าที่ต้องใช้นาร่อง

                   7.3 ขณะนาเรือในน่านน้าจากัด และในเส้นแบ่งเขตจราจรทางน้า หรือบริเวณที่มีเรือสัญจรคับคั่งหรือใกล้ฝั่ง

                   7.4 ขณะเรือกาลังจะผ่านบริเวณใกล้ๆ กับที่ตื้น, แนวหินใต้น้า หรือในเขตเดินเรือที่มีอันตราย

                   7.5 ในสภาพอากาศที่รุนแรงคาดว่าอาจจะเป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของเรือ, ผู้คนและสินค้า

 

ต้นเรือ ( Chief mate or Chief Officer : C/O)

          ต้นเรือ ของเรือพาณิชย์และเรือบรรทุกสินค้า อาจจะถูกเรียกว่า Chief Officer หรือ Chief Mate เป็นผู้ซึ่งมีประกาศนียบัตรหรือใบรับรองความรู้ความสามารถผู้กระทาการในเรือ (Certificate of competency, COC) ตามตำแหน่งหรือสูงกว่า ซึ่งเป็นไปตามข้อบังคับของรัฐที่ออกประกาศนียบัตรหรือถูกต้องตามที่อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานการฝึกอบรม การรับรองคุณสมบัติคนประจาเรือ และการเข้ายามของคนประจาเรือ (STCW)” กำหนด และ เป็นหัวหน้าแผนกปากเรือ (แผนกเดินเรือ) ของเรือพาณิชย์ ดูแลเกี่ยวกับสินค้าทางเรือและคนประจาเรือฝ่ายปากเรือ

          ต้นเรือ เป็นรองผู้บังคับการเรือหรือนายเรือ (Captain หรือ Master) และมีความรับผิดชอบในการบริหารจัดการเรือ ด้านความปลอดภัย (safety) และด้านความมั่นคง (Security) ของเรือ รวมถึงการดูแลความเป็นอยู่ของคนประจาเรือ และการฝึกความพร้อมต่างๆบนเรือ เช่น การบริหารความปลอดภัย การดับเพลิงบนเรือ การค้นหาและช่วยชีวิตทางเรือ เป็นต้น

          ต้นเรือ ถือเป็นรองผู้บังคับการเรือ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่แทนผู้บังคับการเรือเมื่อผู้บังคับการเรือไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ในขณะนั้น มีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมเรือและบริหารงานเรือให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

          ต้นเรือ เป็นผู้บริหารระดับสูง (Senior manager) ของเรือ ช่วยเหลือผู้บังคับการเรือหรือนายเรือ ในการบริหารงานบนเรือด้านต่างๆ ในฐานะหัวหน้าแผนกปากเรือ และอาจกล่าวได้ว่า ต้นเรือนั้นถือได้ว่าเสมือนเป็น ผู้ควบคุมการปฏิบัติงานสินค้า ผู้ควบคุมด้านความปลอดภัย ผู้ควบคุมการดับเพลิงบนเรือ ผู้ควบคุมด้านความมั่นคงบนเรือ (Ship Security Officer, SSO) และผู้ควบคุมด้านการป้องกันมลภาวะสิ่งแวดล้อม บนเรือ

          หน้าที่ความรับผิดชอบ

          1. ปฏิบัติหน้าที่ หัวหน้าแผนกปากเรือ ในการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานและภาระหน้าที่ของ นายประจาเรือฝ่ายปากเรือ ลูกเรือและคนประจาเรือฝ่ายปากเรือ และนักเรียนฝึกฝ่ายปากเรือ

          2. ปฏิบัติหน้าที่ ผู้ควบคุมด้านความปลอดภัยหรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (Safety Officer) ทาหน้าที่ส่งเสริม ดูแลความปลอดภัยของคนประจาเรือในเรือ ตรวจสอบและพัฒนาเรื่องความปลอดภัยบนเรือให้เป็นไปตามมาตรฐานของอนุสัญญาว่าด้วยแรงงานทางทะเล (MLC)” “อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยในชีวิตทางทะเล (SOLAS)” อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันมลพิษจากเรือและข้อคำนึงเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม (MARPOL)” รวมถึงการให้ความรู้และข้อมูลด้านความปลอดภัยแก่คนประจำเรือให้สอดคล้องกับอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานการฝึกอบรม การรับรองคุณสมบัติคนประจาเรือ และการเข้ายามของคนประจาเรือ (STCW)”

          3. ปฏิบัติหน้าที่ ผู้ควบคุมด้านความมั่นคงของเรือหรือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (Security Officer) ในการตรวจสอบดูแลและจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยของเรือตามแผนความมั่นคงปลอดภัยเรือ (Ship security plan) และสอดคล้องกับประมวลข้อบังคับว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยของเรือและท่าเรือระหว่างประเทศ (ISPS Code)”

          4. ปฏิบัติหน้าที่เป็นนายยามเรือเดิน ในการควบคุมและดูแลการเดินเรือของเรือให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและปลอดภัย ตามแผนการเดินเรือและข้อบังคับต่างๆ รวมถึงการปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงการโดนกันของเรือและการปฏิบัติเท่าที่จาเป็นในสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่เรือและชีวิตบนเรือ(0400-0800,1600-2000)

          5. ตรวจสอบและดูแลในเรื่องของการจัดวาง เคลื่อนย้าย และจัดเก็บสินค้าอันตราย รวมถึงการดูแลรักษาสินค้าอันตรายในระหว่างที่เรือเดินทะเลและการทาเอกสารบันทึก ให้เป็นไปตามคาแนะนาของ IMDG Code

          6. เตรียมรายงานและบันทึกต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบของตนอย่างเหมาะสม และตรงเวลา ตลอดจนช่วยเหลือในการบริหารงานเรือ กากับดูแลความปลอดภัยและการทางานในแผนกปากเรือให้เป็นไปอย่างประหยัด

          7. เตรียมงานสินค้าทั้งหมดรวมทั้งการเตรียมอุปกรณ์เครื่องทางานสินค้า, แผนผังการจัดระวาง, การแต่งทริม และการคำนวณการทรงตัวของเรือ ตลอดจนการทาความสะอาดระวางสินค้า, บ่อน้าพักในระวาง, ถังน้ำบาลาสก่อนการรับบรรทุกสินค้าลง แล้วเตรียมรายงานต่างๆ ให้พร้อมไว้เป็นหลักฐาน

          8. รับผิดชอบในเรื่องการบำรุงรักษาอุปกรณ์เครื่องทางานสินค้าทั้งหมด, ฝาระวาง, เครื่องกว้านหัว-ท้าย, เครื่องกว้านมอเตอร์สินค้า, เครน, ระบบระบายอากาศของสินค้าในระวาง, ระบบการปิดระวางและถังน้าบาลาสให้อยู่ในสภาพที่ดีและพร้อมใช้งานได้

          9. รับผิดชอบในการดาเนินการฝึกประจาสถานีเกี่ยวกับความปลอดภัย และเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ

          10. ดูแลและควบคุมการใช้และความสิ้นเปลืองของพัสดุ, อะไหล่ และอุปกรณ์แผนกปากเรือทั้งหมด

          11. ประสานงานกับต้นกล เพื่อให้มั่นใจว่าเรือจะได้รับการบารุงรักษาตามคาสั่งที่ถูกต้องก่อนการเข้าอู่ตามแผนหรือมีการซ่อมทาในช่วงระยะหนึ่ง ต้องเตรียมบัญชีรายการซ่อมทาแผนกปากเรือ แล้วส่งมอบให้แก่นายเรือเพื่อให้บริษัทฯ ได้พิจารณาต่อไป

          12. เพื่อการกากับดูแลในการฝึกอบรมของคนแผนกปากเรือ

          13. เป็นหัวหน้าสถานีประจาที่ภาคหัวเรือ เพื่อใช้เครื่องกว้านสมอขณะที่เรือกาลังจะออกจากหรือเข้าเทียบท่าเรือ, เข้าผูกทุ่นจอดเรือ หรือทิ้งสมอ/หะเบสสมอ

 

ต้นหน (Second Officer : 2/O)

          หน้าที่และความรับผิดชอบ

          1. เข้ายามเรือเดินในทะเล (0000-0400,1200-1600)

          2. เข้ายามเฝ้างานสินค้าหรือนายยามปากเรือขณะเรือจอดในเมืองท่า (0000-0600, 1200-1800)

          3. ทาการขีด-เข็มเส้นทางเดินเรือลงบนแผนที่ และเตรียมทาแผนเส้นทางเดินเรือตามที่นายเรือได้สั่งการและรับรองว่าถูกต้อง

          4. ต้องแน่ใจว่าแผนที่ และบรรณสารเดินเรือที่มีอยู่ได้รับการแก้ไขถูกต้อง และต้องคอยดูแลแก้ไขให้ทันสมัยตามประกาศชาวเรือฉบับล่าสุดอีกด้วย

          5. คำนวณหาตำบลที่เรือเวลาเที่ยงทุกวัน และเตรียมรายงานที่เรือเวลาเที่ยง ส่งแผนกต่างๆ

          6. ทาการดูแลรักษาอุปกรณ์และเครื่องมือช่วยการเดินเรือทั้งหมดให้ใช้งานได้

          7. ทารายงานเบิกยารักษาโรคเพื่อเก็บรักษาไว้ในที่ๆ เหมาะสมและพร้อมทั้งการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและนายามาใช้ได้ในเรือ

          8. เป็นหัวหน้าสถานีประจาที่ภาคท้ายเรือ เพื่อใช้เครื่องกว้านขณะที่เรือกาลังจะออกจาก หรือเข้าเทียบท่าเรือ, เข้าผูกทุ่นจอดเรือ

 

ผู้ช่วยต้นเรือ ( Third Officer : 3/O)

          หน้าที่ความรับผิดชอบ มีดังนี้คือ

          1. เข้ารับหน้าที่ยามเรือเดินในทะเล (0800-1200,2000-2400)

          2. เข้ายามเฝ้างานสินค้า หรือนายยามปากเรือขณะจอดอยู่ในเมืองท่า (0600-1200, 1800-2400)

          3. เก็บรักษาอุปกรณ์ส่งสัญญาณของเรือ เช่น ธงชาติต่างๆ , ธงประมวล, ไฟและทุ่นสัญญาณ และบรรณสารเกี่ยวกับประมวลสัญญาณทั้งหมด

          4. ดูแลรักษาสมุดสั่งจักรและสมุดปูมปากเรือบนสะพานเดินเรือ

          5. ดูแลความปลอดภัยในบริเวณห้องถือท้าย, ห้องแผนที่และสถานที่เก็บอุปกรณ์การเดินเรือ รวมถึงกล้องสองตา, โคมไฟส่งสัญญาณบนสะพานเดินเรือระหว่างที่เรือจอดอยู่ในท่าเรือ โดยเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันการถูกขโมย

          6. เอาใจใส่ดูแลและเก็บรักษาอุปกรณ์เครื่องช่วยชีวิต และเครื่องมือดับเพลิง ตามคาแนะนาของต้นเรือ

 

สรั่งเรือ (Bosun)

          หน้าที่ความรับผิดชอบ

เป็นผู้รับผิดชอบต่อต้นเรือดังต่อไปนี้คือ :-

          1. ดาเนินการจ่ายงานประจาวัน กากับดูแล และฝึกอบรม ตลอดจนมีการประเมินผลผู้ใต้บังคับบัญชาแผนกปากเรือ

          2. ควบคุมดูแลการใช้ และจัดทาบัญชีของใช้สิ้นเปลืองแผนกปากเรือ เช่น สีทาเรือ, ลวด, เครื่องมือ, สเกล, วัสดุใช้รัดชิ่งและจัดระวางสินค้าเป็นไปอย่างประหยัดและมีประโยชน์สูงสุด

          3. เก็บกวาด และทาความสะอาดระวางสินค้า เก็บรวบรวมไม้ดันเนต และวัสดุที่ใช้ในการผูกรัดสินค้าเพื่อสามารถนามาใช้ในครั้งต่อไปอีก

          4. ตรวจและปิดผนึกประตูลิ้นกั้นน้า และฝาช่องทางเข้าระวางให้แน่นสนิท ก่อนเรือออกเดินทาง

          5. ทาความสะอาดและบำรุงรักษาตัวเรือ, ดาดฟ้า, ระวางสินค้า และฝาระวางสินค้าตลอดจนบริเวณที่ที่พักอาศัย และสถานที่กับช่องทางเดินให้สะอาดถูกสุขอนามัย

          6. การใช้และเก็บรักษาเชือก/ลวดผูกเรือ และสมอเรือให้ถูกต้องขณะที่เรือกาลังจะเข้าจอด หรือออกจากจอดเรือในเมืองท่าหรือขณะที่จอดอยู่ในท่าเรือ

          7. ยอมรับงานซ่อมทา และวิธีปฏิบัติการบำรุงรักษาเรือแผนกปากเรือทุกประการ

          8. ดาเนินการฝึกอบรมผู้ใต้บังคับบัญชาและชี้แจงพวกเขาให้ทราบถึงวิธีการทางาน เมื่อได้รับคาสั่งจากต้นเรือ

          9 ทารายงานเกี่ยวกับจุดหลักๆ ของแผนงานบำรุงรักษาเรือในแต่ละเที่ยวเรือ เสนอให้ต้นเรือ เพื่อขอรับคาแนะนาในการปฏิบัติต่อไป

          10. ปฏิบัติงานด้านบำรุงรักษา ทาบันทึกและรายงานให้แผนกต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ทราบ

          11. เข้าประจาที่ภาคหัวเรือ เพื่อใช้เครื่องกว้านสมอขณะที่เรือกาลังจะออกจาก หรือเข้าเทียบท่าเรือ เข้าผูกทุ่นจอดเรือ หรือทิ้งสมอ/หะเบสสมอ

 

นายท้ายเรือ (Able Seaman : AB)

          มีหน้าที่รับผิดชอบดังนี้คือ :-

          1. เข้าถือท้ายเรือและใช้ธงประมวล/ทุ่นสัญญาณต่างๆ , บันไดนาร่องและสัญญาณไฟ

          2. เข้ารับหน้าที่เป็นยามตรวจการณ์ระหว่างเรือเดินตามที่นายยามเรือเดินได้สั่งการ

          3. เข้ายามบริเวณบันไดขึ้น-ลงขณะอยู่ในเมืองท่า รวมถึงการเฝ้าดูบันไดขึ้น-ลงเรือ หรือบันไดใหญ่, เชือกผูกเรือ และแผ่นครอบเชือกกันหนู ตลอดจนสมอเรือขณะเรือทอดทิ้งสมออยู่

          4. เตรียมการหย่อน/ผูกยึดบันไดนาร่องให้มั่นคงและปลอดภัยกับเรือพร้อมกับติดตั้งโคมไฟส่องสว่างอย่างเพียงพอ รวมถึงเตรียมพวงชูชีพกับเชือกช่วยชีวิตพร้อมใช้ตามกฎข้อบังคับที่กำหนดไว้

          5. เข้ารับหน้าที่ต่างๆ ตามที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติ พร้อมกับแนะนาวิธีการปฏิบัติให้แก่กลาสีเรือด้วย

          6. ศึกษาและทาความรู้จักคุ้นเคยกับหน้าที่ของตนเมื่อจะมีการเข้าประจาสถานีเหตุฉุกเฉิน

 

กลาสีเรือ /ประจำเรือ (Ordinary Seaman and Boys : OS)

          มีหน้าที่รับผิดชอบดังนี้คือ :-

          1. รู้วิธีการใช้เชือก/ลวดผูกเรือ, การเตรียมความพร้อมของเครื่องทางานสินค้า, การเปิดและปิดฝาระวางสินค้าตามคาสั่งของสรั่งเรือ รวมไปถึงการผูกรัด มัดยึดสินค้าให้มั่นคง และปลอดภัย

          2. ทาความสะอาด และการบำรุงรักษาระวางสินค้า และพื้นที่อื่นๆ เช่น ดาดฟ้า, ห้องหับ, ช่องทางเดิน และสถานที่ต่างๆ ให้ถูกสุขอนามัยร่วมกับนายท้ายเรือ

          3. ศึกษาและทาความรู้จักคุ้นเคยกับหน้าที่ของตนเมื่อจะมีการเข้าประจาสถานีเหตุฉุกเฉิน

  

บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบคนประจำเรือ

ฝ่ายช่างกลเรือ

 

ต้นกล (The Chief Engineer : C/E)

          ปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้าในแผนกช่างกล มีความรับผิดชอบต่อนายเรือ และบริษัทฯ ในทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทางด้านเทคนิคของเรือ เช่น เครื่องจักรใหญ่, เครื่องจักรช่วย และการบริการงานทางด้านเทคนิค โดยต้นกลเรือจะรับผิดชอบด้านการบริหารงาน, การกากับดูแล และปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างประหยัด ปลอดภัย และดาเนินงานตามระบบการจัดการความปลอดภัยให้บรรลุผล

          หน้าที่รับผิดชอบ

          ความรับผิดชอบของต้นกลจะรวมถึงรายการดังต่อไปนี้ :-

          1. ต้องแน่ใจว่ามีการเข้ายามฝ่ายช่างกล ดูแลเรื่องความปลอดภัย และประจาอยู่ตลอดเวลาในห้องควบคุมเครื่องจักร ตลอดจนการทางานของสัญญาณอัตโนมัติ,อุปกรณ์เตือนภัยต่างๆ ให้ทางานอย่างถูกต้อง

          2. ต้นกลต้องกำหนดหน้าที่ให้แก่คนประจาเรือแผนกช่างกล โดยให้รายละเอียดเกี่ยวกับงานจาเพาะ เช่น ควบคุมและจัดการงานเครื่องจักรกล, อุปกรณ์อะไหล่ และชิ้นส่วน, เครื่องมือ และงานด้านเอกสาร รวมถึงการปฏิบัติงาน การซ่อมบารุงอย่างมีประสิทธิผล สาหรับเครื่องจักรกลและ อุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมด

          3. ต้นกลจะต้องควบคุมดูแลภารกิจต่างๆ ในแผนกช่างกลดังต่อไปนี้ :-

                   3.1 ความประพฤติและความสามารถของคนประจาเรือแผนกช่างกล

                   3.2 ความหมดเปลือง และจานวนคงเหลืออยู่ของน้ามันเชื้อเพลิง น้าจืด และน้ามันหล่อลื่น

                   3.3 สภาพของเครื่องจักรใหญ่และเครื่องจักรช่วย รวมทั้งการทางานของเครื่องจักรที่ผ่านมา ความจาเป็นในการซ่อมทา และจานวนอะไหล่คงเหลือกับความสิ้นเปลืองของแผนกช่างกล

                   3.4 สภาพของหม้อน้าช่วย, น้าหล่อเครื่อง และการบารุงรักษาที่ต้องการ

          4. การเก็บรักษาอุปกรณ์, คู่มือ และคาแนะนาต่างๆ ทางด้านช่างทั้งหมด รวมไปถึงหนังสือคู่มือแนะนาด้านช่าง กับแบบร่างพิมพ์เขียวไว้ให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อยดี

          5. ทารายงานเสนอนายเรือเป็นปกติ และเอาใจใส่ โดยเฉพาะเกี่ยวกับความหมดเปลืองและจานวนคงเหลือในเรือของน้ามันเชื้อเพลิง, น้ามันหล่อลื่น, น้าจืด และชิ้นส่วนอะไหล่ต่างๆ

          6. ต้องแน่ใจว่ารายการทั้งหมดเกี่ยวกับการตรวจสอบของสถาบันจัดชั้นของเรือ หรือของหน่วยงานของทางการอื่นๆ จะต้องได้รับการดูแลให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อยดีพร้อมที่จะได้รับการรับรองจากผู้ตรวจ ถ้ามีการตรวจพบข้อบกพร่องขนาดใหญ่ ต้นกลจะต้องดาเนินการรายงานให้บริษัทฯ ได้ทราบ เพื่อดาเนินการแก้ไข

          7. ต้นกลต้องเตรียมบัญชีรายการซ่อมทาใหญ่ระหว่างเรือเข้าอู่ โดยจัดส่งให้บริษัทฯ เพื่อวางแผนในการดาเนินงาน รวมถึงงานซ่อมทาของคนประจาเรือ

          8. เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินในบริเวณเครื่องจักรกล ที่อยู่ในความรับผิดชอบของต้นกล จะต้องแจ้งให้นายเรือทราบทันที เช่น เกิดเหตุเพลิงไหม้ การระเบิด หรือน้าท่วมเข้าเรือในส่วนของห้องเครื่อง ต้นกลจะต้องรายงานสภาพแก่นายเรือและสั่งการควบคุมความเสียหายไม่ให้ลุกลามออกไป

          9. เก็บรักษาแบบร่างพิมพ์เขียว, คู่มือแนะนา และบันทึกต่างๆ ของบริษัทผู้ผลิตเกี่ยวกับเครื่องจักรและอุปกรณ์ รวมไปถึงสาเนาจดหมายและรายงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับแผนกช่างกลให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

          10. ต้นกลต้องหมั่นตรวจบริเวณห้องเครื่องจักรกล เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องจักรต่างๆ ทางานได้อย่างถูกต้องและมียามเฝ้าดูแลตามหน้าที่อย่างครบถ้วน

          11. ต้นกลต้องกากับดูแลการฝึกอบรม และมีการประเมินผลสาหรับคนประจาเรือแผนกช่างกล และทารายงานส่งผลการฝึก การประเมินผลให้แก่นายเรือและบริษัทฯ ต่อไป

 

รองต้นกล (Second Engineer : 2/E)

          รองต้นกล ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยต้นกล ปฏิบัติหน้าที่แทนต้นกลเมื่อต้นกลไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ในขณะนั้น ช่วยเหลืองานต้นกลในการปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมงานของฝ่ายช่างกลให้เป็นไปด้วยความเรียบ ในเรื่องงานซ่อมบำรุงเครื่องจักรใหญ่ และเครื่องจักรกลทั้งหมด (โดยเฉพาะเครื่องจักรใหญ่) แล้วรายงานสิ่งบกพร่องต่างๆ เสนอแก่ต้นกล เพื่อดาเนินการแก้ไขให้ถูกต้องต่อไป

          หน้าที่รับผิดชอบ

          รองต้นกลจะรับผิดชอบในหน้าที่ดังต่อไปนี้ :-

          1. เข้ายามเรือเดินในทะเล ระหว่างเวลา 0400-0800 . และ 1600-2000 . หรือเรือจอดในเมืองท่า ถ้าเห็นว่าจาเป็น

          2. ต้องแน่ใจว่างานบำรุงรักษาในแผนกช่างกลทั้งหมดเกี่ยวกับงานซ่อมทาเครื่องจักรใหญ่, เครื่องจักรช่วย, เครื่องจักรกลอื่นฯ รวมถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ ได้ทางานในสภาพที่ปลอดภัย โดยมอบหมายงานให้นายช่างกล และผู้ใต้บังคับบัญชาคนอื่นๆ ให้ทางานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามคาแนะนาของต้นกล

          3. ให้ลงบันทึกจานวนชั่วโมงที่เครื่องจักรหลักๆ ที่ได้ทดลองเดินไปแล้ว เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ถึงงานบำรุงรักษาตามแผน

          4. ให้ควบคุมดูแลจานวนรายการที่หมดเปลือง เช่น น้ามันเชื้อเพลิง, น้ามันหล่อลื่น, พัสดุ และชิ้นส่วนอะไหล่ต่างๆ ตลอดจนจัดหาจานวนพัสดุของใช้หมดเปลืองกับส่วนที่จะต้องมีอยู่ในเรือ ตามข้อกำหนดของบริษัทฯ ให้แก่ต้นกลด้วย

          5. ให้เตรียมบัญชีรายการซ่อมทาใหญ่เพื่อเตรียมการเข้าอู่

          6. ให้ควบคุม ฝึกอบรม และประเมินผลการปฏิบัติงาน และความประพฤติ ของคนประจาเรือแผนกช่างกล โดยจัดทารายงานส่งให้ต้นกลได้ทราบเป็นระยะๆ

 

นายช่างกลที่สาม (Third Engineer : 3/E)

          นายช่างกลที่สาม จะคอยช่วยเหลืองานต้นกลและรองต้นกลในการปฏิบัติหน้าที่ ในการซ่อมบำรุงเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หม้อน้าช่วย และเครื่องจักรอื่นๆ ทั้งหมด (โดยเฉพาะเครื่องกาเนิดไฟฟ้า) แล้วรายงานสิ่งบกพร่องต่างๆ เสนอแก่ต้นกลและรองต้นกล เพื่อดาเนินการแก้ไขให้ถูกต้องต่อไป

นายช่างกลที่สาม จะรับผิดชอบในหน้าที่ดังต่อไปนี้ :-

          1. เข้ายามเรือเดินในทะเล ระหว่างเวลา 0000-0400 . และ 1200-1600 . หรือเรือจอดในเมืองท่า ถ้าเห็นว่าจาเป็น

          2. งานซ่อมบำรุงรักษาและการทางานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หม้อน้าช่วย และเครื่องจักรอื่นๆ ในเรือ แล้วรายงานให้ต้นกลและรองต้นกลได้ทราบในกรณีที่พบสิ่งผิดปกติ และพยายามหาทางแก้ไขให้ใช้งานได้ต่อไป

          3. ทาความรู้จักคุ้นเคยกับเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนลงบันทึกการทางานของเครื่องและการบำรุงรักษา

          4. ดาเนินงานตามหน้าที่ เช่น งานบำรุงรักษาตามที่ได้รับมอบหมายให้ดูแล หรือรับคาสั่งจากต้นกลหรือรองต้นกลให้รับผิดชอบ

          5. ดูแลความสิ้นเปลืองของน้ามันเชื้อเพลิงและน้ามันหล่อลื่น ให้มีการใช้อย่างประหยัด

          6. บันทึกรายการต่างๆ ให้ละเอียดถูกต้องลงในสมุดปูมช่างกลตามคาแนะนาของต้นกลและรองต้นกล

 

นายช่างกลที่สี่ (Fouth Engineer 4/E)

          นายช่างกลที่สี่ จะคอยช่วยเหลืองานต้นกลและรองต้นกลในการปฏิบัติหน้าที่ ในงานซ่อมบำรุงเครื่องทาความสะอาดน้ามัน ปั๊มอัดลม ปั๊มใช้งานต่างๆในห้องเครื่อง และเครื่องจักรอื่นๆ ทั้งหมด (โดยเฉพาะเครื่องทาความสะอาดน้ามัน) และรายงานสิ่งบกพร่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นแก่ต้นกลและรองต้น กลเพื่อดาเนินการแก้ไขอย่างเหมาะสมต่อไป

          นายช่างกลที่สี่จะรับผิดชอบในหน้าที่ดังต่อไปนี้ :-

          1. เข้ายามเรือเดินในทะเล ระหว่างเวลา 0800-1200 . และ 2000-2400 . หรือเรือจอดในเมืองท่า ถ้าเห็นว่าจาเป็น

          2. งานซ่อมบำรุงรักษาและการทางานของเครื่องทาความสะอาดน้ามัน ปั๊มอัดลม ปั๊มใช้งานต่างๆในห้องเครื่อง และเครื่องจักรอื่นๆ ทั้งหมด แล้วรายงานให้ต้นกลและรองต้นกลได้ทราบในกรณีที่พบสิ่งผิดปกติ และพยายามหาทางแก้ไขให้ใช้งานได้ต่อไป

          3. ทาความรู้จักคุ้นเคยกับเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนลงบันทึกการทางานของเครื่องและการบำรุงรักษา

          4. ดาเนินงานตามหน้าที่ เช่น งานบำรุงรักษาตามที่ได้รับมอบหมายให้ดูแล หรือรับคาสั่งจากต้นกลหรือรองต้นกลให้รับผิดชอบ

          5. ดูแลความสิ้นเปลืองของน้ามันเชื้อเพลิงและน้ามันหล่อลื่น ให้มีการใช้อย่างประหยัด

          6. บันทึกรายการต่างๆ ให้ละเอียดถูกต้องลงในสมุดปูมช่างกลตามคาแนะนาของต้นกลและรองต้นกล

 

นายช่างไฟฟ้า (Electrical Engineer : E/E)

          รับผิดชอบในหน้าที่เป็นผู้ช่วยต้นกลและรองต้นกลในเรื่องของระบบไฟฟ้า ส่วนประกอบต่างๆของเครื่องจักรที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้าทั้งหมด ระบบปรับอากาศและระบบทาความเย็นห้องแช่เสบียงของเรือ

          นายช่างไฟฟ้าจะรับผิดชอบในหน้าที่ดังต่อไปนี้ :-

          1. รักษาและซ่อมบำรุงตัว เจนเนอร์เรเตอร์ รวมทั้งเครื่องจักรกลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้า เช่น มอเตอร์เครื่องกว้านสินค้า มอเตอร์เครื่องกว้านหัวท้ายเรือ มอเตอร์เครื่องถือท้าย รวมถึงระบบไฟเดินเรือ และแสงสว่างในเรือ

          2. รักษาและซ่อมบำรุงเครื่องทาความเย็นทุกระบบให้ใช้งานได้ดี

          3. ซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรอื่นๆ ตามที่ต้นกลหรือรองต้นกลมอบหมาย

          4. รักษาและซ่อมบำรุงเครื่องจักรที่ใช้ในการทาสินค้าในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้า

          5. ตรวจเช็คอะไหล่ของไฟฟ้า และทารายงานขอเบิกจากบริษัทฯ ผ่านความเห็นชอบของต้นกล

 

สรั่งช่างกล (Fitter)

          สรั่งช่างกลจะรับผิดชอบในหน้าที่ดังต่อไปนี้ :-

          1. ดาเนินการจ่ายงาน กากับดูแล การฝึกอบรมของผู้ใต้บังคับบัญชา และรายงานเสนอต่อรองต้นกล

          2. ควบคุมการใช้พัสดุแผนกช่างกลให้เหมาะสม และรายงานส่วนที่ยังคงเหลือในเรือแก่รองต้นกล

          3. บำรุงรักษาและทาความสะอาดบริเวณที่ติดตั้งเครื่องจักรกล และห้องเครื่อง บริเวณที่พักอาศัย เช่น ห้องนอน และห้องน้าต่างๆ

          4. ประสานงานกับแผนกอื่นๆ เกี่ยวกับการจ่ายงานให้เป็นสัดส่วนในการซ่อมทา และบารุงรักษา

          5. งานซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล และเครื่องยนต์ เช่น งานเชื่อมประสานด้วยไฟฟ้า และการตัดปะด้วยก๊าซของเรือ

          6. รับและเก็บรักษาชิ้นส่วนอะไหล่แผนกช่างกล และดูแลระบบการใช้อย่างประหยัด

          7. ฝึกอบรมผู้ใต้บังคับบัญชา ภายใต้การกากับดูแลของรองต้นกล และลงบันทึกเกี่ยวกับงานที่ได้ทามาแล้ว

          9. ดาเนินงานตามหน้าที่ เช่น งานบำรุงรักษาตามที่ได้รับมอบหมายให้ดูแล หรือรับคาสั่งจากต้นกลหรือรองต้นกลให้รับผิดชอบ

 

ช่างกล / ประจำเรือช่างกล (Oiler)

          ช่างเครื่องจะรับผิดชอบในหน้าที่ดังต่อไปนี้ :-

          1. เข้ายามในห้องเครื่องระหว่างเรือเดินและเรือจอดเทียบท่า โดยปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยนายยามฝ่ายช่างกลตามที่ได้รับมอบหมาย

          2. ทาความรู้จักคุ้นเคย กับเครื่องจักรกล และอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ และคอยช่วยเหลือนายช่างกลผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในงานซ่อมบำรุงรักษา

          3. ดาเนินงานตามหน้าที่ เช่น งานบำรุงรักษาหรืองานทาความสะอาด ตามที่ได้รับมอบหมายให้ดูแล หรือรับคาสั่งจากผู้บังคับบัญชา

          4. ศึกษาและทาความรู้จักคุ้นเคยกับหน้าที่ของตนเมื่อมีการประจาสถานีเหตุฉุกเฉิน

 

ช่างเช็ด (Wiper)

          ช่างเช็ดจะรับผิดชอบในหน้าที่ดังต่อไปนี้ :-

          1. ดาเนินงานตามหน้าที่ เช่น งานบำรุงรักษาหรืองานทาความสะอาด ตามที่ได้รับมอบหมายให้ดูแล หรือรับคาสั่งจากผู้บังคับบัญชา

          2. ทาความรู้จักคุ้นเคย กับเครื่องจักรกล และอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ และคอยช่วยเหลือนายช่างกลผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในงานซ่อมบำรุงรักษาตามที่ได้รับมอบหมาย

          3. ศึกษาและทาความรู้จักคุ้นเคยกับหน้าที่ของตนเมื่อมีการประจาสถานีเหตุฉุกเฉิน

 

หัวหน้าคนครัว (Chief Cook)

          1. เตรียมจัดทารายการเสบียงอาหารแล้วส่งมอบให้แก่ ต้นเรือ เพื่อเตรียมสั่งผ่านทางบริษัทตัวแทนจัดหาบนบก เมื่อเรือเดินทางเข้าเมืองท่า

          2. เตรียมอาหารแต่ละมื้อและถูกต้องตามหลักโภชนาการ โดยติดรายการอาหารประจาวันแก่คนประจาเรือ

          3. ควบคุมและใช้วัสดุประกอบอาหารกับเสบียงที่จ่ายมาด้วยวิธีการที่เหมาะสม และเป็นไปอย่างประหยัด

          4. รักษาความสะอาดภายในห้องครัว, ห้องเก็บเสบียง และห้องเย็นแช่แข็งให้ได้มาตรฐานสูงสุด และป้องกันการเกิดแมลงสาปและหนูอย่างสม่ำเสมอ

          5. รักษาสุขอนามัยภายในบริเวณต่างๆ ที่ตนมีหน้าที่รับผิดชอบ ให้อยู่ในสภาพที่ดี แก่สุขภาพของคนประจาเรือ

          6. ให้ระมัดระวังอันตรายจากการใช้เตาไฟฟ้า หรือเตาแก๊ส หลังจากที่ได้ประกอบอาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว ควรจะตรวจเช็คและสับสวิตซ์ไฟออกหรือปิดลิ้นนิรภัยสาหรับถังก๊าซหุงต้ม

          7. ศึกษาและทาความรู้จักคุ้นเคยกับหน้าที่ของตนเมื่อจะมีการประจาสถานีเหตุฉุกเฉิน

 

บริกร (Messman)

          1. ทำความสะอาดห้องพักอาศัยของนายเรือ, ต้นกล, ต้นเรือ และนายประจาเรืออื่นๆ ทุกคน และให้แน่ใจว่าผ้าปูเตียงนอนต้องขึงให้เรียบและตึง

          2. ทำความสะอาดห้องเมสนายประจาเรือ ห้องเตรียม และบริการอาหาร สาหรับนายประจาเรือทุกคน รวมทั้งล้างภาชนะถ้วยชามให้สะอาด

          3. บริการเจ้าหน้าที่บ้านเมืองที่มาเรือ เช่น เจ้าพนักงานศุลกากร, หมอ และเจ้าหน้าที่บ้านเมืองอื่นๆ รวมถึงเอเย่นต์ด้วย

          4. คอยช่วยเหลือหัวหน้าคนครัว เพื่อเตรียมจัดอาหารมื้อต่างๆ

 

----------------------------------